ชื่อวิทยานิพนธ์ | การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการนิเทศงานวิชาการในโรงเรียนของผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ Needs Assessment for Academic Supervision ofAdministrators and Teachers in Primary SchoolsAccording to the Pilot Project for EducationalExtension Opportunity Under the Jurisdiction of theOffice of the National Primary Education Commission |
ชื่อนิสิต | เฉลิมลักษณ์ เนื้อไม้ Chalermluk Nuamai |
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา | ดร นิพนธ์ ไทยพานิช Nibondh Thaipanich Ph D |
ชื่อสถาบัน | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย Chulalongkorn University. Bangkok (Thailand). Graduate School. |
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา | วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ครุศาสตร์ (นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร) Master. Education (Supervision and Curriculum Development) |
ปีที่จบการศึกษา | 2534 |
บทคัดย่อ(ไทย) | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการนิเทศงานวิชาการในโรงเรียนของผู้บริหารและครูโรงเรียนประถมศึกษาที่เปิดสอนตามโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานวิชาการของผู้บริหารและครูจำนวน 429 ฉบับ ได้รับคืนฉบับที่สมบูรณ์จำนวน 399 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 93.01วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานวิชาการของผู้บริหารและครูแล้วนำมาหาระดับความต้องการจำเป็นในการรับการนิเทศงานวิชาการของผู้บริหารและครู ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ มีความต้องการจำเป็นที่จะรับการนิเทศงานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง ในด้านการวัดและประเมินผลด้านห้องสมุด ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการวางแผนและกำหนดวิธีดำเนินงาน และด้านการส่งเสริมการสอน มีความต้องการจำเป็นที่จะรับการนิเทศงานวิชาการ อยู่ในระดับน้อย ในด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านงานประชุมอบรมทางวิชาการ ครูผู้สอนส่วนใหญ่ มีความต้องการจำเป็นที่จะรับการนิเทศงานวิชาการ อยู่ในระดับปานกลาง ในด้านห้องสมุด ด้านนิเทศการศึกษา ด้านวางแผนและกำหนดวิธีดำเนินงาน และด้านส่งเสริมการสอน มีความต้องการจำเป็นที่จะรับการนิเทศงานวิชาการ อยู่ในระดับน้อย ในด้านหลักสูตรและการนำหลักสูตรไปใช้ ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านการวัดและประเมินผลและด้านประชุมอบรมทางวิชาการ |
บทคัดย่อ(English) | The purpose of this research was to assess primaryschool administrators and teachers needs assessment foracademic supervision in accordance with the pilotproject for expending equality of educationalopportunity under the jurisdiction of the office of theNational Primary Education Commission. Four hundred and twenty-nine copies ofquestionnaires were distributed to the schooladministrators and teachers in 119 schools. Threehundred and ninety-nine copies or 93.01 percent werecompleted and returned. Data were analized by usingpercentage, arithemetic mean and standard deviation. Research findings were as follows: Most administrators expressed their needsassessment for academic supervision at the moderatelevel in terms of measurement and evaluation, schoollibrary, education supervision, planning anddesignating work procedure and instructional promotion.Mean while their needs assessment for academicsupervision at the low level were curriculum andcurriculum implementation, learning and teaching,instructional aids and academic in-service training. The majority of teachers pointed out that theirneeds assessment for academic supervision at themoderate level were school library, educationsupervision, planning and assignment of prodedure ofworking and supporting to teaching. At the same timethe findings showed needs for academic supervision atthe low level were curriculum and curriculumimplementation, learning and teaching, instructionalaids, measurement and evaluation and academicin-service training. |
ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์ | |
จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์ | 139 P. |
ISBN | 974-581-506-3 |
สถานที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์ | |
คำสำคัญ | NEEDS ASSESSMENT, ACADEMIC SUPERVISION, PROJECT FOR EDUCATIONAL EXTENSION OPPORTUNITY |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น