วันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การปรับตัวภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ

 

เมธาสิทธิ์ธัญรัตนศรีสกุล  อุไรรัตน์ เอี่ยมสะอาด  นิตยา สิงห์ทอง ขวัญฤดี ไพบูลย์ ชุติมา แช่มแก้ว  ปิยธิดาแจ่มสว่าง  กาญจน์ ศรีสวัสดิ์ มนต์เมืองใต้ รอดอยู่ (2564).  การปรับตัวภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย ปีที่ 12 เล่มที่ 1. 2564, หน้าที่ 211 – 218

การปรับตัวภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ

Abstract :

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการปรับตัวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนราชินีบูรณะ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) เปรียบเทียบการปรับตัวของนักเรียนจำแนกตามที่อยู่อาศัยและระยะเวลาที่ทำการศึกษาในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย 1) ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ จำนวน 297 คน ได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ และ 2) ผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 14 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ของโรงเรียนราชินีบูรณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีแบบอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การปรับตัวของนักเรียนพบว่าโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านสังคมอยู่ในอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่ ด้านอารมณ์ ด้านการเรียน และด้านการเข้าร่วมกิจกรรม ตามลำดับ ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์พบว่านักเรียนมีการปรับตัวในด้านการเรียนโดยพยายามจัดหาอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีและสิ่งสนับสนุนที่เอื้อต่อการเข้าเรียนออนไลน์ โดยเฉพาะด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ต ด้านสังคม นักเรียนรับรู้มาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปฏิบัติตามโดยตลอด จึงสามารถปรับตัวได้โดยไม่รู้สึกว่าเป็นอุปสรรคต่อการมาโรงเรียน ด้านอารมณ์ นักเรียนเข้าใจ ความยากลำบากทั้งของครูและเพื่อนนักเรียน จึงแสดงออกด้วยความเห็นอกเห็นใจและช่วยเหลือกันในการเรียนทั้งแบบออนไลน์และออนไซต์ และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้เป็นอย่างดีแม้เกิดอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต และด้านการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนเห็นว่าการร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นเป็นโอกาสดี ที่จะได้เรียนรู้การเข้าร่วมกิจกรรมในวิถีใหม่
  2. การปรับตัวของนักเรียนจำแนกตามที่อยู่อาศัยและระยะเวลาที่ทำการศึกษาในโรงเรียนไม่ต่างกันทั้งในภาพรวมและรายด้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น