วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ปัญหาการดำเนินโครงการเกษตรภายใต้การนิเทศของสมาชิกองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

 Title

ปัญหาการดำเนินโครงการเกษตรภายใต้การนิเทศของสมาชิกองค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
Project implementation problems of supervised farming program of future farmers of Thailand in the Northeastern Region.

Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการดำเนินโครงการเกษตรภายใต้การนิเทศของสมาชิก องค์การเกษตรกรในอนาคตแห่งประเทศไทย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้ 1. ด้านการเตรียมการดำเนินโครงการ 2. ด้านการดำเนินโครงการ 3. ด้านการจำหน่ายผลผลิตของโครงการ และ 4. ด้านการสรุปผลการดำเนินโครงการกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย สมาชิก อกท. ที่ผ่านการเลื่อนระดับทั้ง 11 หน่วย (วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จำนวนทั้งสิ้น 187 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS/PC+ และใช้ค่าสถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า สมาชิก อกท. มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 17.80 ปี ร้อยละ 52.94 ศึกษาอยู่ในระดับ ปวช. 2 สาขาเกษตรศาสตร์ มีผลการเรียนเฉลี่ย 2.84 มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 5.50 คน ผู้ปกครองส่วนใหญ่ ร้อยละ 82.89 ประกอบอาชีพเกษตร โดยการปลูกพืชเป็นหลัก มีรายได้เฉลี่ย 3,356.68 บาทต่อเดือน ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.73 เป็นสมาชิก อกท. ระดับภาค เป็นสมาชิก อกท. ทั่วไปถึงร้อยละ 85.56 ร้อยละ 48.13 เป็นสมาชิกที่อยู่หมู่บ้าน อกท. ทำโครงการเฉลี่ย 2.10 โครงการ มีความต้องการศึกษาต่อในระดับที่สูงถึงร้อยละ 78.07 และหลังสำเร็จการศึกษามีความต้องการประกอบอาชีพรับราชการเพียงร้อยละ 28.34 ตามลำดับ สมาชิก อกท. มีความคิดเห็นว่า ปัญหาในการดำเนินโครงการเกษตรภายใต้การนิเทศ มีปัญหาในระดับปานกลาง และปัญหาน้อยเกือบทุกเรื่อง จากการศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ ด้านที่ 1 ด้านการเตรียมการดำเนินโครงการ ได้แก่ หน่วยควรมีการประชาสัมพันธ์ จัดทำคู่มือประกอบการดำเนินกิจกรรมโครงการและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับระเบียบวิธีปฏิบัติ ว่าด้วยการดำเนินโครงการให้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างน้อย ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง ด้านที่ 2 ด้านการดำเนินโครงการ ได้แก่ หน่วยควรรวบรวมข้อมูลด้านราคาปัจจัยการผลิต และจัดเตรียมปัจจัยในการผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการของสมาชิก ประธานคณะกรรมการครูที่ปรึกษา และผู้ปกครองควรออกนิเทศโครงการให้มากขึ้นตามความเหมาะสม ด้านที่ 3 ด้านการจำหน่ายผลผลิตจากการดำเนินโครงการ ได้แก่ หน่วยควรประชาสัมพันธ์เรื่องการจำหน่ายผลผลิตให้ชุมชนทั้งหน่วยงานราชการและเอกชนรับทราบ และ ด้านที่ 4 ด้านการสรุปผลการดำเนินโครงการเกษตรภายใต้การนิเทศ ได้แก่ คณะกรรมการครูทีปรึกษา อกท. วางแผนแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับระเบียบวิธีปฏิบัติ ว่าด้วยการเลื่อนระดับให้สมาชิกทราบก่อนดำเนินโครงการ เพื่อดำเนินการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์มากขึ้น
Abstract: The purpose of this research was to study the problems of supervised farming program of the Future Farmer of Thailand members in the northeastern region as follow 1) Project preparation 2) Project operation 3) Marketing 4) Project reporting. The samples of this research consisted of 187 (FFT.) members who promoted to higher level from 11 colleges of Agriculture and Technology in academic year 1999. These samples were collected by using Multistage sampling methods. The data was collected by rating scales questionnaires. In order to analyze statistical values, mean, standard deviation percentage and then they were compared by processing through the SPSS/PC+ (Statistical Package for Social Sciences/Personal Computer Plus) The results of study had shown the (FFT.) members more than 50 percents were female with the average age of 17.80 years old, 52.94 percents were the second year of The certificate level major in agriculture with grade point average (GPA) 2.84 the number of faint members were 5.50 percents, the 82.89 percents of parents were farmer, the average of parents income were 3,356.68 baths per month, 72.73 percents were the FFT, regional class member 48.13 percents were the members of FFT, village and operated the supervision farming program average 2.10 projects, 78.07 percent want to content to the higher education, After graduation 28.34 percent want to work as government official. The project implementation problems of supervised farming program according to the opinions of the FFT, members were in the medium level and low level in the project operation. The suggestion of this research were summarized as follows : 1) Project preparation FFT. chapter in any college should be operate the workshop, announce and prepare the hand out for all members and persons who concerned in the project implementation of supervise farming program at least one time in the academic semester. 2) Project operation FFT. chapter should be prepare the information about the production price, prepare material, tools to assist the member in the project preparation. The project supervision should be increase by the chairman of advisor and parent of members. 3) Marketing FFT. chapter should be advertise to sale the production of FFT. members to all customers and the college agribusiness sector. 4) Project reporting Project advisors should be advise the members about the rule and regulation to get the higher promotion before project operation.
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. สำนักหอสมุดกลาง.
Address: กรุงเทพมหานคร (Bangkok)
Email: library@kmitl.ac.th
Role: อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์.
Email : kcsompor@kmitl.ac.th
Created: 2545
Modified: 2006-07-18
วิทยานิพนธ์/Thesis
ISBN: 9746489402
CallNumber: วพ. พ743ป 2545
tha
©copyrights สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
RightsAccess:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น